วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 2


       ภาระงานที่ 2: การเขียนผังงาน (flowchart design)
จากการวิเคราะห์ เนื้อหาในภาระงานที่1 ขั้นตอนต่อไปเป็นการเขียนผังงาน เพื่อแสดงขั้นตอนการทํางานของโปรแกรมบทเรียนการเรียนการอนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งควรนําผังงานไปให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมในการนําเสนอบทเรียน จากนั้นนํามาปรับปรุงแก้ ไขตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยปกติมีรูปแบบการเขียนผังงานดังต่อไปนี้



ภาระงานที่ 1


ชื่อนักศึกษา นาย เฉลิมวุฒิ  ปู่คำ  สาขาวิชา ภาษาไทยรหัส 53181010112
ภาระงานที่ 1: การวิเคราะห์เนื้อหา และกําหนดวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ (Content analysis) เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียน ที่วิเคราะห์จากแผนการสอนที่ได้จัดทําไว้ แล้วโดยแยกเป็นการกําหนดหัวข้อเนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ หรือสไลด์ในการนําเสนอ สามารถออกแบบได้ ดังตาราง ดังนี้
ชื่อบทเรียน  การเขียนคัดลายมือ
หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา

1. การเขียน 











2. การเขียนคัดลายมือ



     
       2.1    การคัดลายมือประเภทตัวเหลี่ยม

   
         2.2 ประเภทตัวกลม 


3. หลักการคัดลายมือ















จุดประสงค์การเรียนรู้
         เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวหนังสือตัวบรรจงเต็มบรรทัดได้ และสามารถคัดลายมือได้อย่างคล่องแคล่วสวยงาม และมีระเบียบเรียบร้อย

คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้
          
      เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคำไทย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ของตัวอักษรไทย เขียนให้ง่ายอ่านง่าย มีช่องไฟมีวรรคตอน เป็นตัวอักษรเสมอกัน วางพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกด การันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม

       คือส้นตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นเส้นตรง ตัวอักษรจะเป็นแบบเหลี่ยมที่สวยงาม

           คือลักษณะตัวอักษรมีเส้นโค้งประกอบอยู่ ตัวอักษรที่เท่ากัน เสมอกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม

            1.นั่งตัวตรง เขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายวางบนกระดาษที่จะเขียนเพื่อมิให้กระดาษเลื่อนไปมา ข้อศอกขวาวางบนโต๊ะขณะที่เขียน สายตาห่างจากกระดาษที่เขียนประมาณ
1 ฟุต
            
2.จับดินสอหรือปากกาให้ถูก โดยดินสอปากกาจะอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
            
3.การเขียนตัวอักษรให้เขียนให้ถูกส่วน ตัวอักษรตั้งตรง การเขียนพยัญชนะไทยทุกตัวต้องเริ่มเขียนหัวก่อน ยกเว้นตัว  ก  และ  ธ  ซึ่งไม่มีหัว เว้นช่องไฟและวรรคตอนให้พองาม วางเครื่องมือต่างๆ ให้ถูกต้องตามตำแหน่ง
             
4.การวางพยัญชนะสระ และวรรณยุกต์ สระทุกตัว มีตำแหน่งซึ่งสัมพันธ์กับพยัญชนะ


นิทานเรื่อง แม่กบกับวัว





               

  

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

สาระสำคัญของ e-Learning




สรุป  e-Learning
 ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ ๑ สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ได้
ลักษณะสำคัญของ e-learning  มีดังนี้
๑.  Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
๒.  Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดีทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
๓.  Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
๔.  Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messengerและสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

ประเภท E-learning  ได้แก่
๑. แบบการสอน (Instruction)
๒ แบบสอนซ่อมเสริมหรือทบทวน (Tutorial)
๓. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice)
๔. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)
๕. แบบสร้างเป็นเกม (Game)
๖. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)
๗. แบบทดสอบ (Test)
๘. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery)



ข้อดีและข้อเสียของ   E-learning

 ข้อดี
๑. เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
๒. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
๓. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
๔. ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
๕. ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น  E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย
๑. ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
๒. ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
๓. ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์              ทักษะการใช้งาน
๔. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ประโยชน์ของ
 e-Learning ::
๑. ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
๒. เข้าถึงได้ง่าย
๓. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
๔. ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง

การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


สรุปการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาในปัจจุบันมีหลายประเภทตามความเหมาะสมของผู้ออกแบบ โดยอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การออกแบบบทเรียนจะเริ่มจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป บทเรียนซีเอไอสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ บทเรียนหนึ่งอาจมีหลายรูปแบบรวมกันอยู่ก็ได้


การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแยกตามโครงสร้างของประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. การสอน/การทบทวน (tutorial instruction) วัตถุประสงค์เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่
แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วย
ถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมากเป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา
สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา โดยมีรูปแบบของบทเรียนดังนี้





แผนการสอน


                                       แผนการจัดการเรียนรู้ที่1
 กลุ่มสาระ   ภาษาไทย         ชั้น  ป. 4       ภาคเรียนที่ 1       ปีการศึกษา   2554
ชื่อหน่วยการเรียนรู้      คัดร้อยกรองจงจำดี                    เวลา  5   ชั่วโมง
เรื่อง     การคัดลายมือเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด           เวลา  1   ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้
                   สาระที่  2 การเขียน
มาตรฐาน   ท 2.1    ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนคัดลายมือ และการเขียนเรื่องในรูปแบบต่างๆ        เขียนรายงานข้อมูลข่าวสารและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยตัวบรรจงที่สวยงาม
 ตัวชี้วัด
          ท 2.1 ป. 4/1   คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
 สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด

ความรู้ (K)

ทักษะ (P)
คุณลักษณะ (A)

 ท 2.1 ป.4/1
-การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดถูกต้องตามหลักการเขียน
-การลงมือปฏิบัติการคัดลายมือโดยการฝึกเขียนทั้งตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
-การคัดลายมือทั้งตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดให้ผู้อื่นสามารถอ่านออก

สาระสำคัญ
               1.)  ความสามารถในการเขียน
               2.)  ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ

จุดประสงค์ / คุณลักษณะ
                          1.)  เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกแยะ ตัวหนังสือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดได้
                          2.)  เพื่อให้นักเรียนสามารถคัดลายมือได้อย่างคล่องแคล่ว
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                         1.)  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
                        2.)  มีวินัย
                       3.)  มุ่งมั่นในการทำงาน
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
               เป้าหมาย
      หลักฐาน
          วิธีวัด
       เครื่องมือวัด
      เกณฑ์การวัด
สาระสำคัญ
   คัดลายมือได้อย่างถูกต้อง การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเพื่อที่จะสามารถเขียนถูกต้อง




ตัวชี้วัด
       ท 2.1 ป.4/1
    คัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
- สมุดบันทึกการคัดลายมือ
- คะแนนการคัดลายมือ
- ให้คัดลายมือโดยเขียนทั้งตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
- แบบฝึกการคัดลายมือของนักเรียน
      
            70 %

จุดประสงค์
     1.)  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดได้อย่างคล่องแคล่ว
    2.)  เพื่อจะได้พัฒนาฝีมือการเขียนให้ถูกต้องชัดเจน
- ชิ้นงานและการคัดลายมือเสร็จตามกำหนด
- ให้นักเรียนคัดลายมือตามบทความที่เรากำหนด
- แบบการคัดลายมือที่ถูกต้อง
- งานที่นักเรียนคัดลายมือส่งเป็นชิ้นงาน
            
            70%

กิจกรรมการเรียนรู้
              กิจกรรมที่  1
1.)  การสร้างความสนใจ
   1.1) ครูต้องอธิบายคำว่าคัดลายมือแบบตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดให้นักเรียนเข้าใจและเขียนหรือยกตัวอย่าง  ว่าตัวหนังสือที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  จากนั้นนำตัวอย่างตัวหนังสือหลาย ๆ แบบมาให้นักเรียนลองตอบในคำถามที่ว่า
        - เป็นตัวหนังสือของการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดใช่หรือไม่
2.)  ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
    2.1) คัดลายมือได้สวยงามและถูกต้องชัดเจน โดยให้ครบองค์ประกอบการคัดลายมือที่ถูกต้อง
    2.2) คัดลายมือในระยะเวลาที่กำหนด 30 นาที
    2.3) สามารถดูจากการคัดลายมือที่นักเรียนเขียนได้
    2.4) จะเปิดโอกาสให้ดูการคัดลายมือของเพื่อน และเขียนแสดงความคิดเห็น
    2.5) อาจมีการแข่งขันคัดลายมือในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนอยากจะเห็นการคัดลายมือของเพื่อน เพื่อจะนำมา ปรับปรุงในส่วนของตนเอง
3). ขั้นสรุปเนื้อหา
        3.1.) ให้นักเรียนส่งผลงานและครูเป็นผู้ให้คะแนน โดยเขียนอธิบายข้อดีและข้อเสียให้เด็กได้รับรู้ จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข

สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้
-          แบบฝึกหัดการเขียนคัดลายมือ
                                             
                                             แบบประเมินการเขียน
              เรื่อง  การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด
              วิชา  ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
   เกณฑ์การวัด

ลำดับ

                  ชื่อ-สกุล
                               การคัดร้อยกรอง

    รวม
ความสวยงาม
ความสะอาด
 ตรงตามเนื้อหา
 3
 2
 1
 3
 2
 1
 3
 2
 1

1











2











3











4











5











6











7











8











9














        เกณฑ์การประเมิน                                                                         เกณฑ์การประเมิน
ระดับ   หมายถึง   ดีมาก                                               คะแนน   8 9   คะแนน    หมายถึง     ดีเยี่ยม
ระดับ  2   หมายถึง   พอใช้                                              คะแนน   6 คะแนน    หมายถึง     ดี
ระดับ  3   หมายถึง   ปรับปรุง                                         คะแนน   4 5   คะแนน   หมายถึง     พอใช้
                                                                                        คะแนน   1 3   คะแนน   หมายถึง     ต้องปรับปรุง
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ลำดับ

                ชื่อ-สกุล
          มีวินัย
       ใฝ่เรียนรู้
   มุ่งในการทำงาน
  เกณฑ์การให้  คะแนน
 3
  2
 1
 3
 2
 1
 3
 2
 1
  ผ
 ม ผ.
  1












  2












  3












  4












  5












  6












  7












   8












   9 












 10













ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                    เกณฑ์การวัด
       ระดับ   3   หมายถึง    ดี
       ระดับ   2   หมายถึง    พอใช้
       ระดับ   1   หมายถึง    ปรับปรุง
คะแนน
        6 - 9    ผ่าน
       1 - ไม่ผ่าน
ใบงานที่1
จงคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้ถูกต้องสวยงาม
                                             สยามานุสสติ
                         ใครรานใครรุกด้าว       แดนไทย
                   ไทยรบจนสุดใจ                   ขาดดิ้น

                    เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล         ยอมสละ สิ้นแล
                    เสียชีพไป่เสียสิ้น                ชื่อก้องเกียรติงาม
                            หากสยามยังอยู่ยั้ง       ยืนยง
                    เราก็เหมือนอยู่คง               ชีพด้วย
                    หากสยามพินาศลง            ไทยอยู่ ได้ฤา
                    เราก็เหมือนมอดม้วย         หมดสิ้นสกุลไทย