วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 1


ชื่อนักศึกษา นาย เฉลิมวุฒิ  ปู่คำ  สาขาวิชา ภาษาไทยรหัส 53181010112
ภาระงานที่ 1: การวิเคราะห์เนื้อหา และกําหนดวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ (Content analysis) เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียน ที่วิเคราะห์จากแผนการสอนที่ได้จัดทําไว้ แล้วโดยแยกเป็นการกําหนดหัวข้อเนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ หรือสไลด์ในการนําเสนอ สามารถออกแบบได้ ดังตาราง ดังนี้
ชื่อบทเรียน  การเขียนคัดลายมือ
หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา

1. การเขียน 











2. การเขียนคัดลายมือ



     
       2.1    การคัดลายมือประเภทตัวเหลี่ยม

   
         2.2 ประเภทตัวกลม 


3. หลักการคัดลายมือ















จุดประสงค์การเรียนรู้
         เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวหนังสือตัวบรรจงเต็มบรรทัดได้ และสามารถคัดลายมือได้อย่างคล่องแคล่วสวยงาม และมีระเบียบเรียบร้อย

คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้
          
      เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคำไทย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ของตัวอักษรไทย เขียนให้ง่ายอ่านง่าย มีช่องไฟมีวรรคตอน เป็นตัวอักษรเสมอกัน วางพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกด การันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม

       คือส้นตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นเส้นตรง ตัวอักษรจะเป็นแบบเหลี่ยมที่สวยงาม

           คือลักษณะตัวอักษรมีเส้นโค้งประกอบอยู่ ตัวอักษรที่เท่ากัน เสมอกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม

            1.นั่งตัวตรง เขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายวางบนกระดาษที่จะเขียนเพื่อมิให้กระดาษเลื่อนไปมา ข้อศอกขวาวางบนโต๊ะขณะที่เขียน สายตาห่างจากกระดาษที่เขียนประมาณ
1 ฟุต
            
2.จับดินสอหรือปากกาให้ถูก โดยดินสอปากกาจะอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
            
3.การเขียนตัวอักษรให้เขียนให้ถูกส่วน ตัวอักษรตั้งตรง การเขียนพยัญชนะไทยทุกตัวต้องเริ่มเขียนหัวก่อน ยกเว้นตัว  ก  และ  ธ  ซึ่งไม่มีหัว เว้นช่องไฟและวรรคตอนให้พองาม วางเครื่องมือต่างๆ ให้ถูกต้องตามตำแหน่ง
             
4.การวางพยัญชนะสระ และวรรณยุกต์ สระทุกตัว มีตำแหน่งซึ่งสัมพันธ์กับพยัญชนะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น